นิยามของคำว่า 'พระคุณ'
คำว่า "พระคุณ" ผมชอบการนิยามของนักเทศน์อยู่ 2 คนคือ
1) Ps. Joseph Prince เขานิยามไว้ว่า Grace คือ 'undeserved, unearned and unmerited favor' ก็คือที่เราคุ้นกันดีว่า คือความโปรดปรานที่เราได้รับโดยที่เราไม่สมควรได้รับ ผมชอบนิยามนี้ตรงที่ว่าทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในเมื่อพระคุณคือสิ่งที่เราได้รับโดยที่เราไม่สมควรได้รับ ดังนั้นหากเมื่อใดที่เราพยายามทำตัวให้สมควรได้รับด้วยเนื้อหนังของเรา ก็จะเป็นการทำให้พระคุณเป็นโมฆะไปในทันที และในยามใดที่ผมรู้สึกว่าตัวเองทำตัวแย่มากไม่สมควรได้รับพระคุณของพระเจ้าเลย ณ เวลานั้นผมก็จะสามารถบอกกับตัวเองได้ทันทีว่า ผมจะได้รับพระพรจากพระเจ้าแน่ ๆ เพราะตอนนี้ผมมีคุณสมบัติตรงตามนิยามแล้ว
2) Ps. Bertie Brits เขานิยามไว้ว่า Grace คือ 'The Divine influence upon the heart and its reflection in the life, including gratitude' ก็ประมาณว่าคืออิทธิพลแห่งสวรรค์ที่มีต่อจิตใจและส่งผลสะท้อนออกมาในชีวิตรวมทั้งความชื่นชมยินดี (พยายามแปลแล้วนะ ไม่รู้ยิ่งแปลยิ่งทำให้งงหรือเปล่า ) ผมชอบนิยามนี้ตรงที่ทำให้ผมเกิดความเชื่อว่าพระคุณคือกำลังจากพระเจ้าสำหรับเราในการทำให้เราเป็นดังที่พระเจ้าอยากให้เราเป็นได้ และไม่ใช่ด้วยการตะเกียกตะกายของเราแต่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะพระเจ้าได้ใส่เมล็ดพันธุ์ของพระคริสต์เข้ามาในเราแล้ว และเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตนี้จะเติบโตแน่
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ Ps. Bertie Brits สอนไว้น่าสนใจก็คือ แท้จริงสิ่งที่เราได้จากอาดัมก็คือ Grace เช่นกัน แต่เป็น Negative Grace หรือพระคุณในด้านลบ
ก็คือการที่เรากลายเป็นคนบาป ไม่ได้ขึ้นกับการกระทำของเรา แต่เป็นเพราะเราอยู่ในอาดัม
และการที่เรากลายเป็นคนชอบธรรม โดยไม่ขึ้นกับการกระทำของเรา ก็เพราะเราอยู่ในพระคริสต์
โดยสิ่งที่แตกต่างกันสำหรับเราระหว่างอาดัมคนแรกกับอาดัมคนสุดท้าย (พระคริสต์) ก็คือ เราต้องอยู่ในอาดัมคนแรกอย่างไม่มีสิทธิเลือกเอง แต่สำหรับอาดัมคนสุดท้าย (พระคริสต์) เรามีสิทธิเลือกได้ว่าจะอยู่ในพระองค์หรือไม่ (freewill) (ยินดีด้วยที่พวกเราเลือกที่จะอยู่ในพระองค์กันแล้ว)
อย่างไรก็ตาม การมองพระคุณเป็นหลักคำสอนนั้นก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะแท้จริงแล้วพระคุณไม่ใช่หลักคำสอน แต่เป็นบุคคล ก็คือพระเยซูคริสต์เอง ดังใน
ยอห์น [1:17] เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงประทานธรรมบัญญัตินั้นทางโมเสส ส่วนพระคุณและความจริงมาทางพระเยซูคริสต์
ดังนั้นหากอยากรู้จักพระคุณพระเจ้ามากขึ้น ก็คือการมองไปที่พระเยซูคริสต์ให้มากขึ้นนั่นเอง
1) Ps. Joseph Prince เขานิยามไว้ว่า Grace คือ 'undeserved, unearned and unmerited favor' ก็คือที่เราคุ้นกันดีว่า คือความโปรดปรานที่เราได้รับโดยที่เราไม่สมควรได้รับ ผมชอบนิยามนี้ตรงที่ว่าทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในเมื่อพระคุณคือสิ่งที่เราได้รับโดยที่เราไม่สมควรได้รับ ดังนั้นหากเมื่อใดที่เราพยายามทำตัวให้สมควรได้รับด้วยเนื้อหนังของเรา ก็จะเป็นการทำให้พระคุณเป็นโมฆะไปในทันที และในยามใดที่ผมรู้สึกว่าตัวเองทำตัวแย่มากไม่สมควรได้รับพระคุณของพระเจ้าเลย ณ เวลานั้นผมก็จะสามารถบอกกับตัวเองได้ทันทีว่า ผมจะได้รับพระพรจากพระเจ้าแน่ ๆ เพราะตอนนี้ผมมีคุณสมบัติตรงตามนิยามแล้ว
2) Ps. Bertie Brits เขานิยามไว้ว่า Grace คือ 'The Divine influence upon the heart and its reflection in the life, including gratitude' ก็ประมาณว่าคืออิทธิพลแห่งสวรรค์ที่มีต่อจิตใจและส่งผลสะท้อนออกมาในชีวิตรวมทั้งความชื่นชมยินดี (พยายามแปลแล้วนะ ไม่รู้ยิ่งแปลยิ่งทำให้งงหรือเปล่า ) ผมชอบนิยามนี้ตรงที่ทำให้ผมเกิดความเชื่อว่าพระคุณคือกำลังจากพระเจ้าสำหรับเราในการทำให้เราเป็นดังที่พระเจ้าอยากให้เราเป็นได้ และไม่ใช่ด้วยการตะเกียกตะกายของเราแต่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะพระเจ้าได้ใส่เมล็ดพันธุ์ของพระคริสต์เข้ามาในเราแล้ว และเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตนี้จะเติบโตแน่
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ Ps. Bertie Brits สอนไว้น่าสนใจก็คือ แท้จริงสิ่งที่เราได้จากอาดัมก็คือ Grace เช่นกัน แต่เป็น Negative Grace หรือพระคุณในด้านลบ
ก็คือการที่เรากลายเป็นคนบาป ไม่ได้ขึ้นกับการกระทำของเรา แต่เป็นเพราะเราอยู่ในอาดัม
และการที่เรากลายเป็นคนชอบธรรม โดยไม่ขึ้นกับการกระทำของเรา ก็เพราะเราอยู่ในพระคริสต์
โดยสิ่งที่แตกต่างกันสำหรับเราระหว่างอาดัมคนแรกกับอาดัมคนสุดท้าย (พระคริสต์) ก็คือ เราต้องอยู่ในอาดัมคนแรกอย่างไม่มีสิทธิเลือกเอง แต่สำหรับอาดัมคนสุดท้าย (พระคริสต์) เรามีสิทธิเลือกได้ว่าจะอยู่ในพระองค์หรือไม่ (freewill) (ยินดีด้วยที่พวกเราเลือกที่จะอยู่ในพระองค์กันแล้ว)
อย่างไรก็ตาม การมองพระคุณเป็นหลักคำสอนนั้นก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะแท้จริงแล้วพระคุณไม่ใช่หลักคำสอน แต่เป็นบุคคล ก็คือพระเยซูคริสต์เอง ดังใน
ยอห์น [1:17] เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงประทานธรรมบัญญัตินั้นทางโมเสส ส่วนพระคุณและความจริงมาทางพระเยซูคริสต์
ดังนั้นหากอยากรู้จักพระคุณพระเจ้ามากขึ้น ก็คือการมองไปที่พระเยซูคริสต์ให้มากขึ้นนั่นเอง
Comments
Post a Comment